ไซยาไนด์ สารเคมีอันตราย- เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี 2567          คลิกที่นี่

บทความ

ไซยาไนด์ สารเคมีอันตราย



ไซยาไนด์ (Cyanide)

          เป็นสารเคมีที่มีสูตรเคมีชนิดหนึ่ง เป็นสารพิษที่สามารถกระทำให้เกิดการขาดออกซิเจนในเซลล์ของร่างกาย มีไซยาไนด์ธรรมชาติอยู่ในพืชบางชนิด เช่น มันฝรั่ง มันสำปะหลัง และมะเขือเทศโพด แต่ไซยาไนด์ที่มีผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์เป็นพิษ เช่น ไซไฟด์ ไซโคไซด์ และไซแอนิด สามารถเข้าไปกระทำให้เกิดอันตรายและเสียชีวิตได้โดยเฉพาะในบางกรณีที่มนุษย์ได้รับปริมาณสูงของไซยาไนด์ โดยไซยาไนด์นั้นใช้ในการผลิตยาฆ่าแมลง ฆ่าหญ้า และเร่งการสกัดโลหะ นอกจากนี้ยังใช้ในการผลิตก๊าซไฮโดรไซยานิค ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้ในอุตสาหกรรมและการขนส่งทางบรรทุกอากาศ การได้รับไซยาไนด์เป็นพิษมากจนสามารถส่งผลให้เสียชีวิตในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้นการใช้ไซยาไนด์ต้องใช้ระวังและอย่างระมัดระวัง การใช้และจัดเก็บไว้ในที่ปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยไม่ทันสังเกตเห็น และควรพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยในการจัดการยานพาหนะและการจัดการยาเมื่อมีการใช้งาน


ไซยาไนด์คือ ยา อะไร

เป็นสารพิษที่ยับยั้งการหายใจระดับเซลล์ ทำให้เซลล์ไม่สามารถใช้ออกซิเจนในการสร้างพลังงาน จึงส่งผลกับอวัยวะที่ใช้ออกซิเจนและพลังงานสูง

ไซยาไนด์ มาจากไหน

“ไซยาไนด์” เป็นสารพิษที่พบได้ทั่วไปในพืชหลากหลายชนิด อุตสาหกรรมหลายชนิด รูปแบบที่เป็นพิษคือรูปอิสระหรือไฮโดรเจนไซยาไนด์ (hydrogen cyanide, HCN) ในพืชนั้นพบมากมายหลายชนิดได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวชนิดต่างๆ เช่น ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวโอ๊ต ข้าวไรน์ ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่วชนิดต่างๆ อ้อย แอบเปิ้ล เผือก หน่อไม้ เมล็ดอัลมอล เชอรี่ พีช มะม่วง มะละกอ ฝรั่ง มะนาว เป็นต้น


อันตรายจาก ไซยาไนด์

ไซยาไนด์ สามารเข้าสู่ร่างกายได้หลายวิธี ในเบื้องต้นอาจทำให้เกิดอาการ เช่น ระคายเคืองบริเวณที่สัมผัสอย่างผิวหนังหรือดวงตา ร่างกายอ่อนแรง เวียนศีรษะ คลื่นไส้ หายใจติดขัด หมดสติ และหัวใจหยุดเต้น เป็นต้นโดยความรุนแรงของอาการนั้นอาจขึ้นอยู่กับชนิดของ ไซยาไนด์ ปริมาณ และระยะเวลาในการได้รับ

โดยผลกระทบจากการได้รับ Cyanide อาจแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
ภาวะเป็นพิษจาก Cyanide แบบเฉียบพลัน เป็นอาการที่พบได้ยาก เกิดขึ้นในทันที อาจทำให้เกิดอาการ เช่น หายใจติดขัด เลือดไหลเวียนผิดปกติ ภาวะหัวใจหยุดเต้น สมองบวม ชัก และหมดสติ เป็นต้น

ภาวะเป็นพิษจาก Cyanide แบบเรื้อรัง เกิดจากการได้รับ Cyanide ปริมาณเล็กน้อยต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ในเบื้องต้นอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ง่วงซึม คลื่นไส้ อาเจียน เกิดผื่นแดง และอาจมีอาการอื่น ๆ เกิดขึ้นตามมา เช่น รูม่านตาขยาย ตัวเย็น อ่อนแรง หายใจช้า เป็นต้น นอกจากนี้ หากไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลานาน อาจทำให้หัวใจเต้นช้าหรือเต้นผิดปกติ ผิวหนังบริเวณใบหน้าและแขนขากลายเป็นสีม่วง โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด

ไซยาด์ปริมาณเพียง 0.2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ก็ทำให้เสียชีวิตได้
* ไซยาไนด์ที่ถูกพูดถึงบ่อยคือโพแทสเซียมไซยาไนด์ และไฮโดรเจนไซยาไนด์ (เคยถูกใช้เป็นอาวุธสังหารหมู่ซาวยิวใน WW2)



ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

อาการเมื่อสัมผัส

สัมผัสปริมาณมาก
หายใจติดขัด เลือดไหลเวียนผิดปกติ ชัก หมดสติ หัวใจหยุดเต้น ผิวหนัง กลายเป็นสีม่วง
สัมผัสปริมาณน้อย
ปวดศีรษะ ง่วงซึม คลื่นไส้ อาเจียน มีผื่นแดง

ไซยาไนด์ หา ซื้อได้ ที่ไหน

สังคมต่างมีความสงสัยว่า แท้จริงแล้ว “ ไซยาไนด์ หาซื้อได้ง่ายจริงหรือไม่ และมีวางขายตามร้านขายยาหรือร้านขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่คนสามารถเดินเข้าไปสั่งซื้อได้จริงหรอ? แม้แต่การวางขายในออนไลน์ที่แค่คลิกก็ได้สินค้าโดยไม่ต้องตอบคำถาม อย่างไรก็ตามจากการศึกษาขอมูลพบว่า การลักลอบขายในร้านขายยา เป็นเรื่องยาก เพราะร้านขายยาจะถูกควบคุมด้วยกฎหมาย แม้แต่การจ่ายยาอันตรายที่ขึ้นทะเบียน ยังต้องมีเภสัชกร รวมทั้งได้รับการตรวจสอบจาก สสจ.ยกเว้นการขายยาสามัญประจำบ้าน แต่นอกนั้นทุกตัวเป็นยาอันตราย ที่ต้องที่จ่ายโดยเภสัชกรดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากที่คนๆหนึ่งจะเดินเขาไปขอซื้อยาดังกล่าว

ดังนั้นช่องโหว่ที่ทำให้คนเข้าถึง “ ไซยาไนด์ ” ง่ายที่สุดคือ การสั่งซื้อผ่านออนไลน์ เพราะไม่มีใครมาถามหรือตรวจสอบว่าซื้อไปทำอะไร รองลงมาน่าจะเป็นร้านขายผลิตภันฑ์กำจัดศัตรูพืช ซึ่งคงไม่ได้มีแค่“ไซยาไนด์”เพียงอย่างเดียว ยังมีสารพิษชนิดอื่นๆอีกด้วย ซึ่งหลังจากเกิดการฆาตกรรมหลายศพ พบว่า ร้านค้าออนไลน์ที่ขาย “ ไซยาไนด์ ” เมื่อลองกดเข้าไปดูไม่มีสินค้าดังกล่าววางจำหน่าย และเมื่อลองสอบถามไปยังร้านค้าที่จำหน่ายยาปราบศัตรูพืชก็มีความเข้มงวดในการจำหน่ายเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งแน่นอนว่ากระทรวงและหน่วยงานที่ดูแล ต้องสกัดตั้งแต่ต้นทาง ไม่ใช่แค่ต้องรอให้เกิดการร้องเรียนไปก่อนถึงจะถูกบล็อกหรือนำออกจากช่องทางออนไลน์
เกร็ดความรู้  สารไซยาไนด์

  1. ไซต์ยาไนท์ เป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย w.ศ. 2535
  2. การนำมาใช้จะถูกควบคุมโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
  3. ห้ามจำหน่าย เกิน 50 มิลลิกรรม

หากเราสัมผัสกับ ไซยาไนด์ ควรรับมืออย่างไร ?



ไซยาไนด์ เป็นสารเคมีอันตราย หากสัมผัสกับสารชนิดนี้ควรรีบลดปริมาณสารดังกล่าวให้ได้มากที่สุด ซึ่งวิธีการรับมือกับ ไซยาไนด์ อาจทำได้ ดังนี้

การสัมผัสทางผิวหนัง หากร่างกายสัมผัสกับ ไซยาไนด์ ให้ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนออกด้วยการใช้กรรไกรตัดเสื้อผ้าออกเป็นชิ้น ๆ และนำออกจากลำตัว โดยวิธีนี้จะช่วยให้เสื้อผ้าที่ปนเปื้อน ไซยาไนด์ ไม่ไปสัมผัสกับผิวหนังส่วนอื่น เช่น ศีรษะ และไม่ควรให้ผู้อื่นสัมผัสร่างกายหรือเสื้อผ้าโดยตรงเพราะอาจได้รับพิษจาก ไซยาไนด์ ไปด้วย จากนั้นจึงทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำและสบู่เพื่อลดปริมาณสารพิษให้ได้มากที่สุด ก่อนรีบนำส่งโรงพยาบาล

การสูดดมและรับประทาน หากสูดดมอากาศที่มี ไซยาไนด์ ปนเปื้อนควรออกจากพื้นที่บริเวณนั้น หากไม่สามารถออกจากสถานที่ได้ควรก้มต่ำลงบนพื้น ในกรณีที่ผู้ป่วยหายใจลำบากหรือหยุดหายใจ ต้องทำ CPR เพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้นและรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล แต่ห้ามใช้วิธีเป่าปากหรือวิธีผายปอดเพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับพิษ

การสัมผัสทางดวงตา ควรถอดแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ออก จากนั้นให้ใช้น้ำสะอาดล้างตาต่อเนื่องกันอย่างน้อย 10 นาที และไปโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจ
สิ่งของบางอย่างที่ปนเปื้อน ไซยาไนด์ อาจนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่ต้องทำความสะอาดเพื่อกำจัดสารพิษอย่างถูกวิธีก่อนนำกลับมาใช้ สำหรับคอนแทคเลนส์ หรือเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนควรเก็บใส่ถุงพลาสติกที่มิดชิดและกำจัดทิ้งอย่างเหมาะสมตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ


วิธีหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับ ไซยาไนด์

การหลีกเลี่ยงและลดโอกาสในการสัมผัสกับ ไซยาไนด์ อาจทำได้ ดังนี้
  • งดสูบบุหรี่
  • เก็บภาชนะที่บรรจุสารเคมีภายในบ้านให้มิดชิดและเหมาะสม
  • ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมี ควรใช้ภาชนะรองรับสารเคมีที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งอาจช่วยให้ได้รับสารพิษน้อยลงหากเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงลดโอกาสการสัมผัสและการสูดดมลงด้วย
  • ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมี ไม่ควรนำเสื้อผ้าหรืออุปกรณ์ที่อาจปนเปื้อน ไซยาไนด์ ออกนอกสถานที่ทำงานหรือนำกลับบ้าน
  • ติดตั้งเครื่องดักจับควัน เนื่องจาก ไซยาไนด์ อาจมาในรูปแบบของควันได้
  • สวมอุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งเมื่อต้องทำงานกับสารเคมี หรือต้องเข้าไปในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนของ ไซยาไนด์
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงได้รับสารพิษสูง เช่น เกษตรกร ช่างเหล็ก ช่างทอง พนักงานที่อยู่ในกระบวนการการผลิตกระดาษ สิ่งทอ ยาง และพลาสติก ผู้ที่ทำงานกำจัดแมลง เป็นต้น ควรไปพบแพทย์และเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ



สรุป


       - ไซยาไนด์ คือสารเคมีอันตรายที่ออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เซลล์ใช้ออกซิเจนไม่ได้ (ยับยั้งการหายใจระดับเซลล์) จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ไซยาไนด์เป็นสารเคมีที่มักนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษ สิ่งทอ และพลาสติก ทอง จิลเวลรี่ การทำขั้วโลหะ สามารถปนเปื้อนได้ทั้งในอากาศ ดิน น้ำ และอาหาร 

       - ไซยาไนด์สามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยพบในพืชบางชนิด เช่น เมล็ดของแอพพริคอท (Apricot) และเชอรรี่ดำ (Black cherry) และสารลินามาริน (Linamarin) ซึ่งพบได้ในหัวและใบของมันสำปะหลัง (Cassava) นอกจากนี้กระบวนการเผาผลาญภายในร่างกายมนุษย์ก็สามารถก่อให้เกิดสารไซยาไนต์ได้เช่นกัน  อย่างไรก็ตาม ไซยาไนด์ปริมาณเพียงเล็กน้อยที่พบในพืชและกระบวนการเผาผลาญนั้นไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

       - ไซยาไนด์สามารเข้าสู่ร่างกายได้หลายวิธี ทั้งการสัมผัส การสูดดม รับประทาน เป็นต้น อาการแสดงหลังได้รับไซยาไนด์ ตัวอย่างเช่น ระคายเคืองบริเวณที่สัมผัสอย่างผิวหนังหรือดวงตา ร่างกายอ่อนแรง เวียนศีรษะ คลื่นไส้ หายใจติดขัด หมดสติ และหัวใจหยุดเต้น เป็นต้น โดยความรุนแรงของอาการนั้นอาจขึ้นอยู่กับชนิดของ ไซยาไนด์ ปริมาณ และระยะเวลาในการได้รับ

       - ไซยาไนด์ เป็นสารพิษที่ยับยั้งการหายใจระดับเซลล์ ทำให้เซลล์ไม่สามารถใช้ออกซิเจนในการสร้างพลังงาน จึงส่งผลกับอวัยวะที่ใช้ออกซิเจนและพลังงานสูง เช่น สมอง และหัวใจ เป็นลำดับแรก หากได้รับสารพิษในขนาดที่มากเพียงพอ สามารถทำให้เสียชีวิตเฉียบพลันได้ ไม่ว่าจะเกิดจากการรับสารด้วยวิธีใดก็ตาม
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น first aid cpr
อบรมการปฐมพยาบาลและการกู้ชีพเบื้องต้น First aid & CPR โปรโมชั่นจอง1แถม1 เรียนกับผู้เชียวชาญ ปฏิบัติจริง พร้อมรับใบเซอร์!!! จองอบรมตอนนี้

Comments


businessman

โปรโมชัน
อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย

อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย ในราคาสุดคุ้ม! โปรโมชั่นลดสูงสุด 30% เฉพาะเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2567

บทความล่าสุด
อัปเดตวิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

อัปเดต! วิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

ประกาศจากกรมสวัสดิการล่าสุด

ประกาศจาก กสร. เรื่องการเทียบเท่าวุฒิไม่ต่ำกว่า ป.ตรี อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

บทความยอดนิยม
อุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงาน,อันตรายจากการทํางาน มีอะไรบ้าง,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก รถโฟล์คลิฟท์ forklift 2564

นายจ้างต้องรู้! กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก 2564

แบ่งปัน
ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai